8th AYBKK Conference , July 2nd, 2017

19642574_1918054124875236_7759312424419972457_n.jpg

เมื่อก่อนตอนกูรูจี (Patthabi Jois) พูดในการประชุม(conference) ท่านมักจะพูดเสมอเกี่ยวกับ การไม่คิด ไม่พูดมาก ไม่ทานมาก ไม่นอนหลับมาก ให้นอนน้อย ทานน้อย พูดน้อย แต่นักเรียนไม่ค่อยเข้าใจว่าทำไมท่านพูดอย่างนั้น แต่จริงๆแล้วกูรูจี หมายถึง สิ่งที่คัมภีร์โยคะพราดิพิกา (Hatha Yoga Pradipika) ว่าไว้ว่า ให้เรากินอาหารเพียง 50% อีก25%สำหรับน้ำ อีก25%เป็นที่ที่เหลือเอาไว้ให้อากาศหมุนเวียนได้ เพราะเมื่อทานมากไป เราจะรู้สึกไม่สบายตัว ตัวหนัก อยากนอน ถ้าจะห้ามไม่ให้หลับ เราก็หากาแฟดื่ม เราเอาสิ่งไม่ดีเข้าไปในร่างกาย โดยเฉพาะในตอนเช้าก่อนฝึกโยคะ

นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมเราควรฝึกโยคะตอนเช้า เพราะถ้าเราตื่นมาแล้ว ยังไม่ได้คุยกับใคร เรายังอยู่ในโหมดที่สงบ เรายังไม่ได้เห็น ไม่ได้อ่านข้อมูลข่าวสารมากมาย ยังไม่มีข้อมูลอะไรเข้าไปในหัวเรามากนัก เมื่อเราฝึกในตอนเช้า ตอนที่หัวเรายังโล่ง ยังไม่มีอะไรให้คิด ถ้าจะมีก็เป็นความคิดเล็กๆน้อยๆจากเมื่อคืน นั้นคือเหตุผลที่ว่าทำไมกูรูจีจึงแนะนำให้เราฝึกในตอนเช้าตรู่

มันอยู่ในข้อปฏิบัติข้อแรกของยามะ (Yama = moral discipline)  นั้นคืออหิงสา (Ahimsa) กูรูจีพยายามแปลความหมายของอหิงสาเป็นการกระทำ อย่างเช่นว่า ถ้าเราพูดคุยกับใครก่อนที่เราจะเริ่มฝึก จิตใจเราก็เริ่มถูกรบกวนแล้ว ข้อมูลที่เรารับมาจะเข้าไปสู่สมองและคอยรบกวนการฝึกของเราได้ ในการฝึกร่างกาย ถ้ามีอะไรมารบกวนจิตใจ เราจะไม่สามารถเคลื่ยนไหวได้อย่างที่เราต้องการ หรือ ไม่สามารถเคลื่ยนไหวได้อย่างที่ร่างกายมันควรจะเป็น ดังนั้นในการประชุมทุกครั้ง กูรูจีจะย้ำถึง การไม่คิด ไม่พูด การทานน้อย เพราะเมื่อทานมาก ร่างกายก็ต้องการพลังงานในการย่อยมากขึ้น จึงเกิดความกดดัน ความไม่ผ่อนคลายในระบบย่อยอาหาร เกิดสารเคมีที่ทำให้เราไม่สามารถผ่อนคลาย จิตใจก็จะไม่ผ่อนคลาย ความไม่ผ่อนคลายนี้เป็นสิ่งไม่ดี ทุกอย่างที่คอยรบกวนเรา เช่น ตอนเช้าที่เราตื่น ไปเข้าห้องน้ำ อาบน้ำ เราจะรู้สึกสดชื่น เบาสบาย เพราะเรายังไม่ได้ทานอะไร ยังไม่ได้พูดอะไร ยังไม่ได้มองโทรศัพท์มือถือ แต่เมื่อเรามองโทรศัพท์มือถือ แสงของโทรศัพท์ก็เริ่มรบกวนตาของเรา ความไม่ผ่อนคลายเริ่มเกิด ข้อมูลที่เราได้จากการอ่านมือถือเริ่มรบกวนจิตใจเรา ในการฝึกโยคะมีสิ่งต่างๆเข้ามารบกวนเรามากมาย เช่น ความกลัว ความกดดัน ความคาดหวัง ความต้องการซึ่งก็เป็นความกดดันเช่นกัน

ความไม่เบียดเบียน (Non-vilolence) ควรจะเป็นความคิดแง่บวก หรือควรจะตระหนัก รักใคร่ ทุกสิ่งที่เราทำ มากกว่าที่จะรู้สึกกดดัน เพราะฉะนั้นเมื่อเราฝึกโยคะแล้วเรารู้สึกว่ามีสิ่งยากๆเกิดขึ้น เราควรจะเฝ้าดูมัน แต่ไม่เอามันมากดดันเรา เราควรจะรู้สึกถือความกดดัน รู้ ตระหนัก ว่าอะไรกำลังเกิดขึ้น แต่โดยปกติถ้าเรารู้ว่าอะไรกำลังเกิดขึ้นกับจิตใจเรา เรามักจะควบคุมมัน

อีกตัวอย่างนึงของอหิงสาคือ กิจกรรมทุกอย่างที่เราทำสร้างความกดดันเป็นวัฎจักร เวลาเราออกไปข้างนอกแล้วเจอสิ่งที่เราไม่ชอบ ให้เราให้เหตุผลว่าทำไมเราไม่ชอบมัน นั้นคือเราทำอหิงสาแล้ว แต่ถ้าเราเจอสิ่งที่เราไม่ชอบแล้วเราให้เหตุผลว่าทำไมมันถึงเกิดขึ้นแบบนั้น มันคือการที่เราเอาตัวเราออกห่างจากอหิงสา แต่มันก็ยากในโลกแห่งความเป็นจริง ที่เรามักจะไม่สามารถข้ามผ่านมันได้  เราเพียงสามารถไปถึงมันได้

มีเรื่องเล่าของอินเดียเรื่องนึง เล่าว่า ในหมู่บ้านแห่งนึง มีงูเห่าอยู่ตัวหนึ่ง เป็นงูเห่าตัวแรก(ในโลก) ไม่เคยไม่ใครเจองูเห่าตัวนี้มาก่อน มันอาศัยอยู่ในพุ่มไม้ในต้นไม้ใหญ่ คนในหมู่บ้านกลัวงูเห่าตัวนี้มาก ไม่มีใครอยากไปใกล้ๆ เพราะมันเคยฉกคนตาย  มีอยู่วันหนึ่งเด็กกลุ่มนึงเข้าไปแตะฟุตบอลกันแถวๆที่งูเห่าอยู่ มีเด็กคนนึงแตะลูกฟุตบอลเข้าไปติดในพุ่มไม้นั้น แล้วเด็กๆก็คิดกันว่าจะทำยังไงดี ถ้าไม่ไปเอาบอลมาก็อดเล่นต่อ ตอนนั้นมีกูรูท่านนึงเดินทางผ่านมาเห็นเหตุการณ์ เลยอาสาเข้าไปเก็บลูกบอลให้ ท่านปฎิบัติธรรมมานานจึงมีจิตใจที่ผ่องใส เข้าใจภาษาสัตว์ ท่านจึงเรียกสามารถงูเห่าตัวนี้ออกมาได้ ท่านถามงูเห่าว่า ทำไมเจ้าจึงต้องฉกคนให้ตาย งูเห่าตอบว่า มันก็ไม่รู้เหตุผลเหมือนกันว่าทำไม ท่านจึงบอกไปว่า สิ่งที่งูเห่าทำนั้นคือการเบียดเบียน(Violence) และเนี่องจากเจ้าเป็นงูเห่าตัวแรก ถ้าเจ้าต้องการมีลูกหลานสื่อต่อไป เจ้าไม่ควรจะฉกคนตาย เจ้าควรจะอยู่ในที่ของเจ้า งูเห่าได้ยินดังนี้ก็คิดว่าสิ่งที่กูรูบอกนั้นเป็นสิ่งที่ดี มันจะได้มีลูกหลานสื่อต่อไป งูเห่าจึงรับคำว่าจะไม่เบียดเบียนคน แล้วกูรูก็มอบบทสวดให้งูเห่าไว้สวดตอนนี้รู้สึกอยากฉกคน บทสวดนี้จะช่วยให้เจ้าสงบลงได้ และกูรูก็จากไป วันรุ่งขึ้นงูเห่าก็ไม่ฉกคนอีกต่อไป เมื่อมันรู้สึกอยากฉกคน มันก็จะสวดมนต์ แต่เมื่อเวลาผ่านไป คนในหมู่บ้านก็ไม่กลัวงูเห่าอีกต่อไป เด็กๆก็เข้าไปเล่นใกล้ๆพุ่มไม้ที่งูเห่าอาศัยอยู่ เด็กซนๆบางคนก็เล่นปาก้อนหินเข้าไปในพุ่มไม้ งูเห่าโกรธแต่ก็ได้แต่สวดมนต์ เพราะมันเชื่อสิ่งที่กูรูสอนและอยากจะสืบเผ่าพันธ์ุ จนวันนึงงูเห่าก็เห็นตัวเองเต็มไปดูแผลจากการถูกหินขว้างปา จึงเอาเรื่องไปบอกกูรู กูรูจึงบอกงูเห่าว่า ดีแล้วที่เจ้าเป็นผู้ที่ไม่เบียดเบียนผู้อื่น แต่ไม่ใช่ว่าเจ้าจะไม่ต้องป้องกันตัวเองจากการที่ผู้อื่นจะมาเบียดเบียนเจ้า สิ่งที่เจ้าทำไม่สมเหตุสมผล ถึงเจ้าต้องการจะไม่เบียดเบียนผู้อื่น แต่เมื่อผู้อื่นมาเบียดเบียนเจ้า เจ้าต้องรู้จักหลบหลีก สร้างอาณาเขตของเจ้าเอง ตั้งแต่นั้นมา งูเห่าหัวแรกก็รู้การแผ่แม่เบี้ย ขู่คนที่จะมาทำร้ายด้วยเสียง

เรื่องนี้ก็คล้ายๆเรื่องของคนเรา ถ้าเรามีความคิดอะไรเกิดขึ้นในจิตใจ เราก็จะไม่ผ่อนคลาย ไม่ใช่ว่าจะไม่ทำ แต่ไม่ใช่พยายามอย่างไรสติ อย่างเช่นเวลาเราทำท่าโค้งหลัง (Backbend) ก็ไม่ได้ให้พยายามจนหลังจะหักทุกครั้งไป เหมือนๆกับเรื่องของชีวิต เวลาเรารักใครซักคน เราสามารถบอกเหตุผลกับคนอื่นๆว่าทำไมเรารักคนคนนั้น แต่เมื่อมีใครมารุกรานเราก็ควรหลีกให้ห่าง (ไม่ใช่นิ่งเฉยให้เค้ามารุกรานเราได้ แล้วให้เหตุผลว่าทำไมเค้ามารุกรานเรา สิ่งที่เราควรทำให้หลีกให้ห่าง….ผู้แปล) ความรักทำให้ร่างกายเราหลั่งสารเคมีชื่อโดพามีน (Dopamine) มันทำให้ร่างกายเราสร้างภูมิคุ้มกัน นั้นคือเหตุผลว่าทำไมเมื่อเราฝึกยามะ นิยามะ(Yama Niyama) ทำให้เราเกิดความรัก เกิดความรู้สึกดีๆกับผู้อื่น แต่เราก็ยังรู้สึกได้ว่าคนบางคนไม่ได้มีความรู้สึกดีๆให้กับเรา ดังนั้นเราควรที่จะหลีกเลี่ยงการอยู่กับคนเหล่านั้น เหมือนที่งูเห่าไม่สามารถหยุดเด็กๆไม่ให้ปาหินใส่มัน แต่งูเห่าจากสามารถหลบหลีกการถูกหินปาด้วยวิธีอื่นได้

ลองกลับไปฝึกอหิงสาในชีวิตประจำวันดู เช่น ถ้าเราเดินข้ามถนนแล้วมีรถขับมาเร็วๆเหมือนจะชนเรา ให้ลองให้เหตุผลว่าทำไมเค้าจึงขับรถอย่างนั้น เค้าอาจจะไม่เห็นเรา แต่ไม่ใช่ว่าเราจะหยุดให้รถมาชน

จบแล้วเรื่องอหิงสาในวันนี้ พยายามสังเกตุดูจิตใจของตัวเองในเรื่องอหิงสานี้ อหิงสาช่วยเราได้มากทั้งในเรื่องที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันและในการฝึกโยคะอาสนะ ความกลัว ความโกรธ ความไม่มั่นใจ และ ความรู้สึกแง่ลบที่เกิดในใจเรา พยายามทำความเข้าใจมัน แล้วเอาใจออกห่าง

 

ผู้เล่าเรื่อง (Speaker) : Kru Boonchu (Boonchu Tanti)

รูปประกอบ (Credit photo) : Jib Ananya

ผู้แปล (Translator) : OylJi (Oyl Jidapa Poonpakdee)

Leave a comment