9th AYBKK Conference , Sep 3rd, 2017

 

 

21271353_2007264625954185_7731996882402391175_n.jpg

ตอนผมไปฝึกกับชารัท (Sharath Jois) แต่ละครั้ง ชารัทมีเน้นการสอนในเรื่องที่ต่างกันไป คราวนี้ที่ Workshop ของชารัทที่ยุโรป (August 2017) ชารัทเน้นไปที่การหายใจ อาจจะเป็นเพราะในทั้ง 3 Workshops ใน 3 ประเทศนั้น มีนักเรียนหลายคน ไม่สามารถทำอาสนะได้ นักเรียนเหล่านี้สามารถฝึก Half primary (ครึ่งแรกของซี่รีส์ที่ 1) ได้ดี แต่ในครึ่งที่สอง นักเรียนเหล่านี้ทำอาสนะได้ไม่ดี ดังนั้นใน Led class  ชารัทจึงเน้นเรื่องการหายใจมาก อย่างเช่นการหายใจให้ผ่อนคลาย

ในคลาส Pranayama (การฝึกการหายใจ) นักเรียนที่เป็นนักเรียนของชารัทที่มัยซอร์ และฝึกจบ Intermediate series เท่านั้นจึงสามารถเข้าคลาส Pranayamaนี้ได้ ซึ่งมันยากที่จะฝึกได้ดีเนื่องจาก คลาส Pranayama นี้มีขึ้นหลังการฝึกอาสนะจบ

ใน Conference ของชารัท เค้าพูดเกี่ยวกับ Suffering (ความเจ็บปวด ความไม่สบายกายใจ) ซึ่งเป็นเรื่องหนึ่งของแนวคิดของโยคะ คือ ถ้าเรามองความเจ็บปวด ความไม่สบายกายใจในแง่บวก เราก็สามารถเยียวยามันได้ ตามที่ upanishads , yoga sutra กล่าวไว้

ผมได้อ่าน India methodology (แนวคิดของอินเดีย) เกี่ยวกับความเจ็บปวด ว่าความเจ็บปวดนั้นมี 2 ด้าน คือ ด้านความเจ็บปวด และ ด้านที่จะเยียวยามัน หรือ ด้านพระเจ้า กับด้านมาร ซึ่งคนเราต้องการทั้ง 2 ด้านเพื่อที่จะสามารถอยู่ตรงกลางได้ รู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ดี อะไรคือสิ่งที่เลว

เรื่องมีอยู่ว่า มีนาก (naga, snake) กับ ครุฑ (garuda) ซึ่งทั้งสองเป็นลูกของพระศิวะ แม่ของนากเคยบอกกับพระศิวะว่าอยากมีลูกเยอะๆ เราจึงเห็นงูมีอยู่เยอะแยะ อาศัยอยู่บนพื้นดิน ในเรื่องนากเป็นตัวที่เป็นผู้ร้าย ส่วนแม่ของครุฑเคยบอกว่าอยากมีลูกเป็นเหยี่ยวที่แข็งแรงเพียง 1 ตัว ,ในเรื่องมีการพนันการระหว่างนากกับครุฑ ซึ่งในที่สุดครุฑแพ้ ครุฑและแม่ครุฑก็ต้องยอมรับใช้นากและแม่นาก แต่ครุฑมีความหยิ่ง ถือตัว เพราะคิดว่าตนเป็นครุฑอยู่บนฟ้า ไม่ควรต้องมายอมรับใช้นาก ก็เลยไปตกลงกับนาก นากบอกว่าถ้าครุฑสามารถเอา”นำ้อมฤต” (Amarita) มาให้นากได้ นากก็จะยอมในครุฑเป็นอิสระ

“นำ้อมฤต”นี้มีนางฟ้า (Deva) เป็นผู้ดูแลอยู่ แต่อีกด้านก็มีมาร (Asura) ซึ่งทั้งนางฟ้าและมารก็เป็นลูกของพระวิษณุ ครุฑบอกนากว่าจะไปเอานำ้อมฤตมาให้ ครุฑก็ไปสู้กับมารเพื่อทำความอมตะมาให้นาก เมื่อได้นำ้อมฤตมาแล้วครุฑก็รักษาสัตย์โดยไม่แม้แต่จิบความอมตะนั้น พระวิษณุชื่นชมครุฑมากที่มีความซื่อสัตย์และอยากให้ครุฑมาอยู่ในทัพ พระวิษณุจึงบอกครุฑถึงวิธีกลโกงที่จะเอานำ้อมฤตไปให้นาก

เมื่อครุฑเอานำ้อมฤตะมาให้นาก ครุฑก็ทำตามวิธีที่พระวิษณุบอก ครุฑบอกให้นากลงไปล้างตัวให้สะอาดในน้ำเสียก่อน ที่จะดื่มนำ้อมฤต นากก็ทำตาม ในขณะนั้นเองครุฑก็ยกนำ้อมฤตให้พระอินทร์ดื่ม พระอินทร์จึงตอบแทนด้วยการให้พรครุฑว่า ครุฑสามารถฆ่านากได้โดยไม่มีบาป พอนากขึ้นมาจากน้ำ ก็พยายามหานำ้อมฤตที่ยังพอหลงเหลืออยู่บนพื้นหญ้า ซึ่งเป็นที่มาทำไมเราจึงกำจัดหญ้าไม่ตาย ถ้าไม่ถอนรากถอนโคน เพราะหญ้าถูกนำ้อมฤตหกใส่ แต่ งูเพียงลอกคราบได้เหมือนที่เราเห็นงูในปัจจุบันลอกคราบ เหมือนมีชีวิตใหม่ได้ แต่ไม่ใช่ว่าชีวิตจะเป็นอมตะ

ถึงพระวิษณุจะเลือกข้างจะอยู่ด้านครุฑ แต่พระวิษณะก็ไม่ได้ฆ่านากทั้งหมด เพราะพระวิษณุรู้ว่าถ้ามีด้านดี ก็ควรจะมีด้านเลว จึงจะสมดุล นี่คือแนวคิดของอินเดียที่ว่า ถ้ามีสิ่งเลวร้ายเกิดขึ้น เราสามารถจะเรียนรู้จากมัน และใช้เป็นบทเรียน

10338234_794167753946975_8043802698050418583_n.jpg

กลับมาที่เรื่องของการหายใจ ถ้าเราไม่สบายกายใจ(suffering)จากการฝึกอาสนะใดๆ เราควรจะดูการหายใจเข้าของเรา ยืดลมเข้าให้เข้าให้ยาวที่สุด นานที่สุด เพื่อให้เรามีความยืดหยุ่นเรื่องเวลาในการเคลื่ยนไหว ถ้าเรารู้สึกไม่สบายในการเข้าอาสนะ ให้เราใช้เวลาในการสูดลมหายใจเข้า แล้วเข้าสู่อาสนะให้นานขึ้น เราจึงนับการหายใจเป็น หายใจ 1ลมเข้า 1ลมออก เราไม่นับเป็นวินาที การที่เราใช้เวลาหายใจเข้าออกให้นานขึ้น ทำให้เรามีเวลาเยียวยาความไม่สบายกายใจ(suffering)ในอาสนะนั้นมากขึ้น

ผู้เล่าเรื่อง (Speaker) : Kru Boonchu (Boonchu Tanti)

รูปประกอบ (Credit photo) : Jamsai

ผู้แปล (Translator) : OylJi (Oyl Jidapa Poonpakdee)

Leave a comment