เข้าใจ Arm balance – ทำไมมือรับน้ำหนักได้ไม่ดีเท่าเท้า

ในการฝึกโยคะระดับbeginning ผู้ฝึกจะได้รับการฝึกให้ยืนด้วยเท้าได้อย่างมั่นคงก่อน แต่เมื่อถึงระดับ intermediate และ advanced ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะมี ท่าarm balance เข้ามาเกี่ยวข้อง

 

imgres-1

 

images

เคยสงสัยหรือไม่ว่าโครงสร้างของมือกับเท้าเรามีความคล้ายคลึงกันอยู่ คือมีส่วนที่เป็น 1) นิ้ว-เคลื่ยนไหวได้ดี ช่วยในการหยิบจับ เกี่ยว, 2)พื้นที่แบนๆ-ใช้รับน้ำหนัก รับแรง ส่งแรง, 3)ข้อต่อ-ทำให้มือเท้าเคลื่อนไหวแยกส่วนกับแขนและขาได้

ที่นี้มาตอบคำถามว่าทำไมมือเรารับน้ำหนักได้ไม่ดีเท่าเท้า ลองดูมือของเราเปรียบเทียบกับเท้านะคะ จะเห็นชัดเลยว่าส่วนที่เป็นพื้นที่แบนๆ ที่ได้รับน้ำหนักของเท้า กินพื้นที่ประมาณ 4/5 ของความยาวเท้า, ส่วนมือนั้น ฝ่ามือของเรามีพื้นที่แค่ 1/2 ของความยาวมือเท่านั้น

ยิ่งไปกว่านั้น สังเกตุมั้ยว่า ฝ่ามือของเรามีความสามารถในการเคลื่ยนไหวได้ดีกว่า เปรียบเทียบกับฝ่าเท้า นั้นหมายความว่าฝ่ามือจะรับน้ำหนักได้ไม่ดีเทียบกับฝ่าเท้า

–>มือจะมี stability ต่ำ แต่มี mobility สูง 

(stability แปรผกฝันกับ mobility)

–>เท้าจะมี stability สูง แต่มี mobility ต่ำ

เทคนิคของการเพิ่มความสามารถในการรับน้ำหนักให้มือ คือ 1)กางนิ้วทั้ง 5 ให้กว้างที่สุดเท่าที่จะทำได้ –> เพื่อเพิ่มพื้นที่ของฝ่ามือ 2) กดโคนนิ้วทั้ง 5 ลงแน่นๆบนเสื่อ –> เพื่อสร้างขอบของฐานการรับน้ำหนักให้ติดแน่นอยู่กับเสื่อ ไม่ว่าจะเป็นท่า downward facing down จนไปถึง handstand เอาเทคนิคนี้ติดไปใช้ทุกครั้ง

การฝึกโยคะจึงให้เราฝึกฝนในสิ่งที่ตรงข้ามกับสิ่งที่เรามีอยู่แล้วให้เกิดขึ้นได้ ท่าarm balance จึงต้องเกิดจากการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ ให้ร่างกาย สมอง กล้ามเนื้อ เส้นประสาทเข้าใจถึงการรับน้ำหนัก ถ่ายน้ำหนัก แบบใหม่ที่เราไม่เคยได้ใช้ในชีวิตประจำวัน

Keep practicing, be patient 

Oyl Ji – 081 931 2969

สอนโยคะ เรียนโยคะ ฝึกโยคะ ครูโยคะ โยคะตัวต่อตัว โยคะกลุ่มเล็ก โยคะ ราคาพิเศษในโซน ปิ่นเกล้า ถนนราชพฤกษ์ ถนนจรัญสนิทวงศ์ ถนนสิรินธร บรมราชชนนี ถนนรัตนาธิเบศร์ ถนนเพชรเกษม สวนผัก ติดต่อ OylJi ออยจิ 081 931 2969

 

 

 

Leave a comment