ไปฝึกโยคะที่มัยซอร์ อินเดีย ตอนที่2 – Tips for trip to Mysore, India

ตอนที่ 2 เตรียมตัวก่อนไป  (ย้อนไปอ่านตอนที่ 1 ที่นี่)

หลังจากที่สมัครเรียนกะ Sharath Jois และได้รับการตอบรับให้ไปเรียนได้แล้ว มีเวลาอีกสองเดือนกว่าที่จะต้อง

  1. จองตั๋วเครื่องบินไปบังกาลอร์ & จองรถจากสนามบินไปมัยซอร์
  2. หาที่พัก
  3. ขอวีซ่า
  4. ทำ check list สิ่งของที่จะเอาไปด้วย
  5. จัดกระเป๋า

ขั้นที่ 1.1 จองตั๋วเครื่องบินไปบังกาลอร์

มัยซอร์เป็นเมืองทางใต้ของอินเดีย ไม่มีเครื่องบินไปลงตรงจากกรุงเทพ เราจึงต้องนั่งเครื่องไปลงเมืองที่ใกล้ที่สุดก็คือ บังกาลอร์ไฟท์จากกรุงเทพไปบังกาลอร์ (ภาษาอังกฤษว่า Bangalore) (ภาษาอินเดียว่า Bengaluru) มีให้เลือก 2 สายการบินด้วยกันคือ การบินไทย กับ AirAsia  , แน่นอน AirAsia ถูกกว่า,เวลาของไฟท์ใกล้เคียงกันมาก, เวลาบิน 3 ชั่วโมงครึ่งโดยประมาณ , ออยเลยเลือก AirAsia Economy Class แบบปรับวันใช้ตั๋วได้ กะว่าจะไปถึงก่อนซัก 1 วันเพื่อเตรียมตัวและไปกรอกใบสมัครที่ชาลาอีกครั้ง, ค่าตั๋วไปกลับประมาณ 10,000 บาทเท่านั้น (ถ้าซื้อแล้วไม่ยืดหยุ่นวันจะถูกกว่านี้ได้อีก)

0cf407e6-459b-499e-afa6-c80e6edc8eaa.jpg

ขั้นที่ 1.2 จองรถจากสนามบินบังกาลอร์ไปมัยซอร์

หลังจากนั่งเครื่องไปถึงอินเดียแล้ว ยังไม่ถึงนะคะ ต้องต่อรถอีก 140 กม. ซึ่งเหมือนไม่ไกล้ แต่ว่าจะต้องใช้เวลาอีกตั้ง 3 ชม.บนรถ กว่าจะไปถึงมัยซอร์ เค้าบอกมาว่าให้ติดต่อรถรับส่งได้ Ganesh เจ้าของ Anu cafe ,ออยบอกรายละเอียดไฟท์และแจ้งข้อมูลของตัวเองว่าชื่ออะไร จะไปเรียนโยคะกับ Sharath บอกเค้าว่าจะให้รับแล้วไปส่งที่ไหน ให้ address ให้ไปให้ชัดเจน เค้าจะติดต่อเรากลับมาพร้อมและคอนเฟิร์มสิ่งต่าง ซึ่งทำให้ออยมั่นใจ 100% ว่าจะมีคนมารับออยที่ airport แน่ๆ , 2,800 Rs. ขาเดียว Banglore airport – Mysore เค้าจะบอกว่าเป็นรถคันเล็กสำหรับเราและสัมภาระของเราคนเดียว

Ganesh FB.png

นี่เป็นFacebook ของ Ganesh ติดต่อเค้าทาง Inbox ได้เลย (เค้าเป็น Agent หาที่พักให้ได้ด้วย, พอเจอตัวจริง Ganesh เป็นผู้ชายอินเดียที่มีความเป็น international สูง ดูfriendly ขรึม น่าไว้ใจ เค้าเป็นเจ้าของร้าน Anu cafe ไม่ไกลจากชาลา)

ขั้นที่ 2 หาที่พัก

เวลาหาที่พักแนะนำให้ห่างจากชาลาไม่เกิน 500 เมตร (ยิ่งใกล้ยิ่งดี) เพราะเราต้องเดินจากที่พักไปชาลาทุกเช้า บางทีอาจเป็นเช้ามืด บางวันเราต้องเดินไปตอนเที่ยงๆเพื่อไปเข้าคลาสChant ด้วย ระยะทางจากที่พักไปชาลาจึงสำคัญมากไม่ควรเกิน 500 เมตร และสะดวกต่อการเดินไปร้านอาหาร ร้านขายของชำ ร้านขายผักผลไม้ ที่ต่างๆที่จะทำให้ชีวิตเราดำเนินไปได้อย่างไม่ลำบาก (ถ้าเป็นกรุงเทพเปรียบเทียบเหมือนเราควรจะอยู่ในเมือง บนเส้นรถไฟฟ้า จะทำอะไรก็สะดวก) ถ้าไกลกว่า 500 เมตร เสมือนอยู่ชานเมืองทันที

ตัวออยเองเริ่มจากลองหาที่พักบน http://www.airbnb.com ดูค่ะ Search ว่า Mysore India ซึ่งก็มีขึ้นมาบ้าง ราคาต่อเดือนประมาณ 10,000 – 25,000 บาท สำหรับห้องส่วนตัวที่มีห้องน้ำในตัว แชร์living room และ kitchen แต่ที่กังวลคือ เราไม่เคยไป ไม่รู้ว่ามันไกลจากชาลาแค่ไหน และถือว่าแพงกว่าจองผ่าน Agent ที่เป็นคนอินเดียอยู่มากทีเดียว

มาจบที่วิธี ช้นายหน้าที่เป็นคนอินเดียอยู่ที่มัยซอร์ ที่เพื่อนแนะนำมาอีกที และดูใน Facebook Community ที่เป็น Closed-ground ของพวก Ashtangi ที่ฝึกอยู่ที่มัยซอร์ (กลุ่มนี้มีคนมาโพสทุกเรื่องกิจกรรมตั้งแต่ ที่พัก พี่เลี้ยงเด็ก เรียนนวด เรียนทำอาหาร คลาสเรียนต่างๆ  รองเท้าแตะหาย เลยเจอนายหน้าชื่อ Kiran)

Screen Shot 2016-01-30 at 12.55.10 PM.png

ในที่สุดเค้าก็ส่งรูปที่พักน่าตาแบบนี้มาให้ดู

12490257_1720768994820951_577293723_o.jpg

12489989_1720768941487623_552330302_o.jpg12477021_1720769051487612_1753839903_o.jpg12469968_1720769064820944_1104924353_o.jpg12490215_1720769108154273_1356031383_o.jpg12489927_1720769181487599_542812734_o.jpg

สำหรับออยแล้ว ชอบระเบียง ห้องนำ้โอเค เตาเล็กๆก็พอได้ แต่เตียงนี่ชมพูไปนะ ห้องดูแน่นมาก แต่เดี๋ยวไปถึงจะไปปูที่นอนและจัดห้องใหม่ให้เหมาะกับเรา เห็นแบบนี้ราคาประมาณ 7,500 บาท/เดือน (15,000 Rp) คุยกันผ่าน Facebook Message มัดจำไป 30% ให้เงินผ่านคนที่เรารู้จักและไว้ใจ เธอฝึกอยู่ที่มัยซอร์ตอนนั้นพอดี เธอเป็นทั้งครูของเราที่ AYBKKด้วย เธอเดินไปดูห้องให้ จ่ายตังค์ให้ Kiran เรียบร้อย ง่ายดายจริงๆ

พอมาถึงจริงๆรู้สึกว่า 1) การที่เราอยู่เป็นเดือน มีเวลาว่างมาก เราควรมีครัวที่เป็นเรื่องเป็นราว มีแค่โต๊ะกับเตาแก๊ส ขาดความสะดวกเรื่องการทำอาหาร (แต่ออยก็ทำอะไรง่ายๆกินนะ อย่าง ข้าวราดกระเพราเห็ดไข่ดาว,มัดบด)  2) บ้านที่ออยอยู่ห่างจากชาลา 600 เมตร (ตามที่ Google map บอก, เดิน 8 นาที) ซึ่งก็เป็นความจริง แต่มันจะมีปัญหาตอนที่แดดร้อน เพราะออยมาเดือนมีนาคม  ตอน 10.00-16.00 จะร้อนจนต้องเดินกางร่ม เหงื่อตก กลางวันไม่อยากออกไปไหน , อีกปัญหานึงคือ ออยมี Led class เช้าวันจันทร์ตอน6.00 ซึ่งต้องออกจากบ้าน 5.00 (เพื่อไปรอตามปกติ) ฟ้ายังมืดอยู่ ฝูงหมาแถวบ้านเห่าและวิ่งตาม น่ากลัว ออยต้องไปติดต่อ Rickshaw (ตุ๊กๆ) ให้มารับเฉพาะเช้าวันที่ฝึกเช้ามากๆ

India Stay_Map.png

Google map แสดงเส้นทางจากบ้านที่ออยอยู่ เดินไปชาลาของSharath 8 นาที, 600 เมตร

ขั้นที่ 3 ขอวีซ่า

เห็นคนอื่นเค้าไปแถวอโศก ครูบุญชูแนะนำให้ทำทำวีซ่าช่วง 3 สัปดาห์ก่อนเดินทางไป ก็เลยคิดว่าไม่น่ายาก Google ก่อนเลยว่าต้องไปที่ไหน เตรียมอะไรไปบ้าง ได้ข้อมูลมาดังนี้

สถานที่ไปทำวีซ่า วันเวลาเปิด ดูได้ที่  http://www.indiavisathai.com/

Tourist visa สิ่งที่ต้องเตรียมไปมีดังนี้ http://www.indiavisathai.com/?page_id=44

กรอกข้อมูลบน Online application form (แล้วพิมพ์ออกมาพร้อมแนบหลักฐานต่างๆ แล้วค่อยไปทำวีซ่า) ได้ที่นี่ https://indianvisaonline.gov.in/visa/info1.jsp

ไปทำวีซ่าที่ ตึกชื่อ253 อยู่บนถนนอโศก ใกล้ BRT ที่ถนนอโศกตัดกับ ถนนเพชรบุรี เดินนิดเดียวถึงตึก ตึกนี่มีธนาคาร KTB อยู่ด้านล่าง สีฟ้าอ่อนชัดเจน

แนะนำว่าเตรียมเอกสารไปให้ครบนี่ดีจริงๆ ไปถึงจะมีเจ้าหน้าที่ตรวจเอกสาร ถ้าครบก็ให้เราไปที่ counter แล้ว scan ลายนิ้วมือก็จบกลับบ้านได้แล้ว วันที่ออยไปคิวไม่ยาวเลย เสร็จภายในครึ่งชั่วโมง  แต่ถ้าเอกสารไม่ครบ เค้ามีบริการถ่ายภาพ (จำราคาไม่ได้) ถ่ายเอกสาร (ก็จำราคาไม่ได้) กรอกฟอร์มสมัครขอวีซ่าออนไลน์ให้ด้วย ปริ้นท์ออกมาให้เสร็จ ชัวร์ว่าข้อมูลครบแน่นอน (175บาท) ราคาจะสูงนิด คิดว่าเป็นค่าบริการให้เราไม่ต้องกลับบ้านไปทำนะคะ

ค่าวีซ่ารวมค่าส่งเล่มpassport เรากลับมาที่บ้าน รวม 2080 บาท ชำระเงินเคาร์เตอร์เดียวกับที่ scan นิ้ว เสร็จสรรพ กลับบ้านรอรับ passport ได้เลยค่ะ

ขั้นที่ 4 ทำ check list สิ่งของที่จะเอาไปด้วย

แยกตามนี้ให้ง่าย  1. การฝึก  2.ใช้เวลาว่าง  3. กิน  4.นอน 5.เสื้อผ้า  6.อาบน้ำ  7. เงิน  8. เอกสาร 9.เครื่องมือสื่อสาร 10.ของฝาก 11. ยา

1. การฝึก – เสื่อ ถุงเสื่อ ผ้าสารพัดประโยชน์ ชุดฝึกทุกรูปแบบ(สั้นยาว หนาวร้อน)

2.ใช้เวลาว่าง – หนังสือที่ไม่เคยมีเวลาอ่าน ของสำหรับวาดภาพ ลำโพงเล็กๆ

3. กิน – ช้อนส้อมแก้วพลาสติก กล่องอาหาร นำ้ยาล้างจาน ฟองน้ำล้างจาน มีดปอกผลไม้ เขียงบางๆ กระบอกน้ำ  ถุงZiplock

4. นอน – ผ้าปูที่นอนดีๆ หมอนดีๆ ผ้าห่มดีๆ

5. เสื้อผ้า – กางเกงขาวยาวหล่วมๆ  เสื้อยืดแขนสั้นแขนยาว ชุดนอน(กระโปรง กางเกง หนาวร้อน)  Legging Jacket ชั้นในทุกประเภท รองเท้าแตะ Sneakers ถุงเท้า

6.อาบน้ำ – สบู่ แชมพู Oil แปรงฟัน DentalFloss CottonBud ผ้าเช็ดตัวแห้งง่าย

7. เงิน – เงินสด(จ่ายค่าเรียน ค่าแท๊กซี่ ค่าเช่าบ้าน ค่ากินอยู่เล็กๆน้อยวันแรกๆ) ATMแบบกดที่อินเดียได้

8. เอกสาร – สำเนาPasspart  สำเนาวีซ่า ปริ้นท์Confirmationอีเมล์จากSharath รูปถ่าย2นิ้ว

9.เครื่องมือสื่อสาร – Mac iPhone  หูฟัง

10.ของฝาก – ครูบุญชูฝากเสื้อAYBKKลายใหม่ให้คนที่ชาลา  ของฝากเล็กๆไทยๆหลายๆชิ้น

11. ยา – แก้ปวด แก้ไข้ ยาหม่องที่เราติด น้ำเกลือล้างจมูก Counterpain แซมบัค พลาสเตอร์ ยาสามัญที่เภสัชแนะนำ

ประมาณนี้เดี๋ยวถ้าเยอะไปค่อยเอาออก

ขั้นที่ 5 จัดกระเป๋า

12729153_10209516807055002_5156355247982981470_n.jpg

ออยจัดกระเป๋าก่อนเดินทางประมาณ 1 สัปดาห์ ใช้กระเป๋าเดินทางใบใหญ่ 1 ใบ + ใบเล็กที่ลากขึ้นเครื่องบินได้อีก 1 ปี ใช้วิธีกางกระเป๋าไว้ ใส่ของตาม Checklist แต่ถ้านึกอะไรออกอีกก็ใส่เพิ่มไป คิดว่าอะไรบ้างที่จำเป็นในชีวิตการฝึกและชีวิตประจำวันของเรา

เช็คน้ำหนักกระเป๋าที่สายการบินอนุญาตให้ loadใต้เครื่อง และ นำขึ้นเครื่องด้วย ของออยได้ 20 kg. และ 7 kg. ตามลำดับ ซึ่งผลก็คือกระเป๋าทั้งสองใบหนักเกินทั้งคู่  ซึ่งก็แก้ไขได้สองทาง 1.ซื้อน้ำหนักเพิ่มก่อนวันเดินทาง ซึ่งจะราคาถูกกว่า การเอากระเป๋าไปชั่งตอน check-in แล้ว สายการบินขอเก็บเงินเพิ่ม (ถูกกว่ามาก)  หรือ 2. สละของบางสิ่งที่ไปซื้อเอาที่มัยซอร์ก็ได้ เช่น อุปกรณ์ใช้ในห้องน้ำ เช่นสบู่ แชมพู, อุปกรณ์ซักผ้า เช่น แปรงซักผ้า ผงซักฟอก, อาหารOrganic เช่น ชา น้ำมันมะพร้าว น้ำมันหอม, อุปกรณ์การกินและทำอาหาร ที่มัยซอร์มีห้างฯเล็กๆ มีร้านของชำ มีร้านOrganic product สำหรับโยคีต่างชาติ มาซื้อเอาที่นี่ได้จะได้ไม่หนักกระเป๋า

พอมาอยู่มัยซอร์จริงได้ 1 สัปดาห์ขอสรุปสิ่งที่จำเป็นและไม่จำเป็นต้องเอามาดังนี้

เสื้อผ้าใส่ประจำวัน ไม่ต้องเอามาเยอะ ซักตากได้ ไม่ต้องเน้นสวยงาม ออกนอกบ้าน เสื้อยืดกะกางเกงขายาวหลวมๆ ย่าม ก็ถือว่าเข้ากลุ่มโยคีต่างชาติได้แล้ว ที่นี่ตอนเช้าจะหนาว ตอนดึกหนาว แม้กระทั่งหน้าร้อน ในเอา Jacket มาเผื่อซักตัวด้วย, ส่วนผู้หญิง ถ้าเราจะใส่เสื้อไม่มีแขน ให้เอาผ้าคลุมไหล่มาด้วย ที่นี่ผู้หญิงต้องคลุมคอ อก ไหล่ ต้นแขนไว้เมื่อออกนอกบ้าน แม้ว่าเราเป็นต่างชาติก็ตาม ส่วนผู้ชายจะใส่อะไรไม่มีใครว่า

ชุดฝึกโยคะ ที่ชาลาของชาราทจะใส่อะไรก็ได้ที่เราสะดวก จะขาสั้นกุด บราสั้นแค่ใต้อก รัดรูป เค้าก้อไม่ว่าอะไร มีคนใส่กัน แต่ที่เห็นก็คือ ตอนฝึก ผู้ชายใส่กางเกงขาสั้นกีฬา ไม่ใส่เสื้อ, ผู้หญิง มีทั้งบราและเสื้อกล้ามรัดรูป กางเกงขาสั้นก็มี Legging ก็มี ตามสะดวกเลย  แต่นอกชาลาให้แต่ตัวสุภาพ ผู้หญิงคลุมไหล่ อก ต้นแขนให้เรียบร้อย (ถ้าฝึกที่อื่น เช็คก่อนนะคะว่าคนส่วนใหญ่เค้าแต่งตัวกันยังไง)

รองเท้า เนื่องจากพื้น ทาง ที่ต้องเดินที่นี่เป็นถนนคอนกรีตแต่ไม่มีฟุตบาท เต็มไปด้วยฝุ่นและทราย ตามใจว่าชอบใส่รองเท้าผ้าใบ หรือ รองเท้าแตะ จะเอามาอย่างละคู่ก็ดี

ผ้าปูที่นอน+ปลอกหมอน+ผ้าห่ม  ถ้าเป็นคนชอบกลิ่นหอมๆ สะอาด ฝุ่นไม่มี ลายไม่พร้อย ให้เอามาเอง ถ้าเราเช่าบ้านแล้วเจ้าบ้านเตรียมให้ ส่วนใหญ่ลายพร้อย สีสดใส กลิ่นไม่คุ้น ระหว่างรอเรามา ฝุ่นก็จับไปแล้ว อย่านึกว่าจะขาว นิ่ม หอม แบบโรงแรมห้าดาว ไม่มีค่ะ

ผ้าเช็ดตัว แนะนำให้เอามาเอง เองแบบบางนิด ซักตากแห้งง่าย

ไดร์เป่าผม เอามาเถอะ ออยผมสั้นยังคิดว่ามันจำเป็น เอาอันที่เราชอบใช้มา

ครีม แว็กใส่ผม หรือ เครื่องสำอางค์ที่คิดว่าเราต้องใช้ยี่ห้อของเราเท่านั้น ถ้ามาเดือนมีนาคมแล้วติดครีมกันแดด ให้เอามาด้วย แดดตอนกลางวันร้อนมาก

สบู่ก้อน สบู่เหลว แชมพู ผงซักฟอก ถ้าใช้ยี่ห้ออะไรก็ได้ ที่นี่มีร้านขายของชำ มีห้างฯเล็กๆ ให้หาซื้อได้ มียี่ห้ออินเตอร์ไม่ต้องกลัวว่าจะหาไม่ได้

ร่ม แว่นกันแดด ถ้ามาเดือนมีนาคมแบบออย มันเป็นสิ่งที่จำเป็น เอามาแล้วจะขอบคุณมัน แดดกลางวันแรงมากขอเตือน

ยา ที่นี่มีร้านขายยา แต่ถ้าชอบใช้อะไรที่คุ้นเคย ในปรึกษาเภสัชในไทยว่าจะเอายาพื้นฐานอะไรไปด้วยดี เค้าจะช่วยเราได้ ส่วนยาที่กินบ่อยๆอยู่แล้ว แบบแก้ปวด แก้ท้องอืด ยาหม่อง ติดมาด้วยเลยนะคะ มันไม่ได้หนักกระเป๋าอะไรมาก

เครื่องครัว ดูว่าบ้านที่เราเช่าเค้ามีอะไรให้บ้าง มีครัวมั้ย มีเครื่องครัวมั้ย แต่ถ้ามีครัวจะดีมาก เราจะได้ใช้เวลาว่างทำอาหารตามที่เราอยากกิน เครื่องครัวซื้อที่นี่ได้หมด ไม่ต้องแบกมาก็ได้

อาหารไทย ออยติดน้ำพริก น้ำปลา มาม่า มานิดหน่อย เผื่อว่าคิดถึงรสชาติอาหารไทย ซึ่งบางสิ่งแถวนี้หากินไม่ได้

Yoga mat + ถุงใส่ Mat + ผ้าซับเหงื่อตอนฝึกอย่าลืม อย่าเอาYoga mat ที่มีเครื่องหมายโอม (OM) อยู่บนเสื่อมา ที่นี่เค้าถือว่าเครื่องหมายนี้เป็นสิ่งต้องบูชา ไม่ใช่เอามาปริ้นท์บนเสื้อ Liformeถ้ามีแล้วชอบ(ซึ่งออยเองก็ชอบ) เก็บไว้ใช้ที่เมืองไทยนะคะ

คอมพิวเตอร์ iPad Smartphone ถามบ้านที่เราจะเช่ามามี wifi มั้ย แต่ส่วนใหญ่ไม่ว่าบ้านเล็กบ้านใหญ่ cafe ร้านอาหาร จะมี wifi ให้ฟรี ความเร็วของinternetค่อนข้างดี อุปกรณ์พวกนี้ใช้ติดต่อสื่อสารกับครอบครัว คนที่เรารัก ดูหนังฟังเพลง จะได้ไม่คิดถึงบ้านหนัก

โทรศัพท์มือถือ ให้เอามือถือที่ใช้อยู่ที่เมืองไทยมาด้วย สามารถซื้อ SIM card เปลื่ยนกับโทรศัพท์ของเราได้เลย ค่าซิมประมาณ 100 บาท จะมีเงินอยู่ในนั้นใช้สำหรับโทรเรียกแท๊กซี่ โทรหาคนท้องถิ่นที่เรารู้จักแถวนี้ได้ดี มีไว้ก็ดี และถ้าอยากมี 3G บนโทรศัพท์ด้วย ในซื้อ package ที่มีค่าโทร+ค่าเล่นเน็ต ออยเลือกแบบเล่นเน็ตได้เยอะนิดนึง คือ เล่นเน็ต ได้3G และถ้าใช้หมด 3G จะเล่นเน็ตความเร็วต่ำลงได้ unlimited ใช้ได้ 28 วัน = 600 Rs. (300 บาท) ถ้ามีแบบนี้เราสามารถมีเน็ตใช้ได้ทุกที่ที่เราไปไม่จำเป็นต้องไปในที่ๆมี wifi

เงินสดสกุลINR ออยพกเงินสดมาแค่ 60,000 Rs. (30,000 บาท) เพื่อมาจ่าย ค่าเรียน, ค่าเช่าบ้านที่เหลือ, ค่าแท๊กซี่ และ ค่าใช้จ่ายในวันแรกๆที่มาถึง แลกมาจากร้านแลกเงินตรงข้าง Central World ซึ่งมีให้เลือก 4-5 ร้าน ,ร้านSuperRichส้ม เงิน INR( India Rupee) หมดในวันที่ออยไปแลกเงิน, ร้านSuperRichเขียว ที่เค้าบอกอัตราแลกเปลื่ยนหรือให้เรตดี ก็คนเยอะมาก ไม่รู้มีเงิน INR หรือเปล่า, อีกร้านนึงเล็กๆบอกมีอยู่แค่ 7,000 Rs., ออยเลยไปจบ ได้แลกเงินที่ร้าน Grand Superrich, อยากจะบอกว่าเงิน INR ไม่ได้เหมือน JPY หรือ USD ที่มีให้แลกทุกที่ แพลนดีๆว่าจะได้แลก ทันก่อนเดินทาง

ATM ให้พก ATM ของไทยที่คอนเฟิร์มกับธนาคารในไทยมาแล้วว่าสามารถกดในต่างประเทศได้ มันจะเรียกว่า plus หรืออะไรประมาณนี้ ถ้าที่ธนาคารในไทยสาขาไหนก็ได้ที่เราสะดวก ถ้าบัตร ATM ของเราไม่สามารถกดเงินในต่างประเทศได้ให้ทำใหม่ ออยใช้ของSCB เสียค่าทำบัตรไป 600 กว่าบาท, พอมาถึงตู้ ATM จะหน้าตาคล้ายๆบ้านเรา ต่างที่ใส่บัตรเข้าไปแล้วเอาบัตรออกเลย เอาออกก่อนใส่ PIN Code , กดได้ครั้งละแค่  10,000 Rs. เท่านั้น เสียค่าธรรมเนียมประมาณ 100 บาท/ครั้ง, สะดวกมาก ข้างชาลาของชาราทก็มีตู้ ATM

 

จัดกระเป๋าเสร็จก็พร้อมเดินทางไปมัยซอร์แล้วค่ะ

————————————

โยคะกับออยจิ yogawithoylji จิดาภา Jidapa มัยซอร์ Ashtanga Yoga Mysore Sharath Shala Practice Gokulam

 

Leave a comment